ไม่รู้ค่ะ
ไม่ได้กวนนะคะ

เพราะ ไม่รู้จริงๆ ค่ะ

หมายความว่า คนเรายังไม่ใช่อรหันต์กันหมด ก็เพราะยังไม่รู้
คนเรายังหิว ยังเจ็บ ยังทุกข์ทรมานกันได้ ก็เพราะยังไม่รู้
คนเราเกิดมาต่างกัน ก็เพราะไม่รู้
ที่ต่างกัน ก็คือ ระดับของการไม่รู้ และปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความไม่รู้เนี่ยแหละค่ะ ที่ต่างกันค่ะ
คนเราทุกๆคนก็ยังทุกข์กันอยู่
บอกคนบอกว่า ไม่จริงหรอก ฉันไม่ทุกข์
ลองถามกลับดู ว่า คุณจะแก่ไหม จะเจ็บปวด จะตาย จะพรากจากคนที่รักหรือเปล่า
ตื่นเช้าถ้าไม่ลุก ก็ทุกข์เพราะปวดเมื่อยจนต้องบิดขี้เกียจหรือเปล่า
ทุกข์เพราะไม่สบายตัวอยากเข้าไปจัดการธุระในห้องน้ำไหม
ทุกข์เพราะหิวข้าวเช้า ทุกข์เพราะรถติด ทุกข์เพราะทำงานสาย โอย...เยอะแยะไป
คนที่ทุกข์เพราะหิวข้าว ถ้ารู้ว่าต้องเอาเงินไปซื้อข้าวกิน ก็ดับความทุกข์ได้หนึ่งคราว
บางคนก็ลุกไปซื้อข้าว บางคนไม่มีสตางค์ ก็ต้องรู้ว่าจะขอข้าว หรือของานหาเงินไปซื้อ
บางคนไม่รู้ว่ากินของเผ็ดตอนเช้าไม่ดี และไม่ควรกินเหล้า ต่อมาก็ปวดท้อง
บางคนไม่รู้ว่าจะหาเงินมาซื้อข้าวอย่างไร ไม่รู้ว่าการขโมยเงินค่าข้าวคนอื่นไม่ดี ต่อมาก็ติดคุก
บางคนโกหก เพื่อขอข้าวกิน เพราะไม่รู้ว่าสุดท้ายคนอื่นก็ไม่เชื่อถือ
บางคนฉุดหญิงมาให้ทำข้าวให้ เพราะไม่รู้ว่าการล่วงละเมิดลูกภรรยาคนอื่นจะทำให้คนอื่นโกรธจัดจนถูกไข้โป้งได้
ดังนั้นคนเราจึงมีลีลาชีวิตที่ต่างกันไป
เพราะเลือกที่จะตอบสนองกับความไม่รู้ต่างกัน
หลายคน ได้แต่รู้ด้วยลมปาก พูดลอยๆ ว่าตัวเองรู้ แต่ทำไม่ได้ ก็เลยยังไม่เหมือนกับคนที่รู้จริงๆ
แล้ว "ความไม่รู้" นี่คืออะไร
ขอออกตัวก่อน ว่าคนนี้ที่ตอบก็ยังไม่รู้ ยังกำลังเรียนรู้อยู่ จึงยังไม่กล้าให้คำตอบโป๊ะๆ ชนิดที่เคลียร์ใจให้กันได้
อย่างมากที่พอจะเล่าสู่กันฟังได้
คืออัญเชิญคำสอนของ "ผู้รู้" จริงๆ มาเล่าสู่กันฟัง
"ผู้รู้" ที่ตอบได้จริงๆ จังๆ ก็คือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และมีผู้ที่ศึกษาตามจนเข้าใจดี และถ่ายทอดต่อได้ ก็คือครูบาอาจารย์ทั้งหลาย

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านสอนเรื่องของทุกข์ และการดับทุกข์
คำสอนของท่านมีรวบรวมเอาไว้มากมาย แค่กดกูเกิ้ลคำเดียวก็ออกมามากมายแทบจะอ่านไม่ไหวแล้ว
แต่ความรู้ ความเข้าใจ ใช้การฟัง หรืออ่านไม่ได้ผลหรอกค่ะ
ยิ่งเป็นผู้ที่ถนัด "คิดทางขวาง" คือ เป็นผู้ที่คิดนอกกรอบเป็น แบบนี้น่ะค่ะ
เป็นวิธีคิดของคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากสังคมนะคะ
เพราะทำให้ทางธุรกิจ หรือการค้นคว้าเรื่องใหม่ๆ ได้ผลดี
ทางการศึกษา หรือจิตวิทยาเด็กก็สนับสนุนให้เด็กๆ คิดด้านขวางเอาไว้นะคะ
แต่การคิด ไม่ช่วยเรื่องการดับทุกข์ค่ะ
ถ้าสนใจอยากรู้ว่าพระพุทธศาสนาสอนอะไร ดับทุกข์ได้อย่างไร
มีทางเดียว คือลองปฏิบัติเอง สัมผัสเอง รับรู้ได้ด้วยใจค่ะ
แนะนำเข้าเวบลานธรรมนะคะ
กดตามแบนเนอร์ลิงค์ แด่เธอผู้มาใหม่
หรืองาน วิปัสสนานุบาล หรือ เจ็ดเดือนบรรลุธรรม ของคุณดังตฤณ
ลองทำตามอย่างเดียวดู ถึงจะเข้าใจเอง
ดีกว่าคำพูดเยอะเลยค่ะ
ทำไมคนที่เกิดมาแล้ว ถึงไม่ให้ทุกคนเป็นอรหันต์กันตั้งแต่แรก ไม่ต้องหิว ไม่ต้องเจ็บป่วยกันตลอดไป
จะมาคอยนับ คอยบันทึกว่าคนนี้ดี คนนั้นเลวทำไม
หรือไม่ก็ให้ทุกสิ่งอย่างเป็นก้อนหิน เป็นต้นไม้ จะได้หยุดนิ่ง ไม่ต้องทำอะไร
คนน๊า ไม่ใช่ตุ๊กตา

ไม่ได้มีใครกำหนดให้ใครเป็นหรือไม่เป็นอรหันต์ ไม่มีใครบังคับให้ใครรู้สึกหิว อิ่ม เจ็บ หรือมาคอยให้แต้มคะแนนความดีเลยค่ะ
แนวคิดที่ว่าคนเราถูกสร้างขึ้นมา ถูกกำหนดชะตาเอาไว้แล้ว ถูกบังคับกะเกณฑ์ได้ ไม่ใช่แนวคิดของพุทธค่ะ